เมนู

4. จูฬโคปาลสูตร



[388] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำคงคา จังหวัด
อุกกเวลาแคว้นวัชชี. คราวนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุ
ทั้งหลาย พระภิกษุเหล่านั้น จึงรับสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
พระเจ้าข้า.
[389] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว นายโคบาลชาวมคธผู้มี
มาแล้ว นายโคบาลชาวมคธผู้มีปัญญาทราม ไม่นึกถึงฤดูสารทในเดือนท้าย
ฤดูฝน ไม่ตรวจตราดูฝั่งแม่น้ำคงคาข้างนี้ เริ่มต้อนฝูงโคข้ามไปฝั่งเหนือแห่ง
วิเทหรัฐฟากโน้น โดยไม่ถูกท่าเลย ทันใดนั้นแล ฝูงโคได้ว่ายเวียนวนในท่าม
กลางกระแสแม่น้ำคงคา ถึงความวอดวายเสียที่ตรงนั้นเอง ข้อนั้นเป็นเพราะ
เหตุไร ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะค่าที่นายโคบาลชาวมคธเป็นผู้มีปัญญา
ทราม ไม่นึกถึงฤดูสารทในเดือนท้ายฤดูฝน ไม่ตรวจตราดูฝั่งแม่น้ำคงคา
ข้างนี้ เริ่มต้อนฝูงโคให้ข้ามไปฝั่งเหนือแห่งวิเทหรัฐฟากโน้นโดยไม่ถูกท่า
เลย ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ที่ไม่ฉลาดต่อโลก
นี้ ไม่ฉลาดต่อโลกหน้า ไม่ฉลาดต่อสิ่งใต้อำนาจมาร ไม่ฉลาดต่อสิ่งเหนืออำ
นาจมาร ไม่ฉลาดต่อสิ่งใต้อำนาจมฤตยู ไม่ฉลาดต่อสิ่งเหนืออำนาจ
มฤตยู ชนเหล่าใดจักสำคัญสิ่งที่ควรฟังควรเชื่อ ต่อสมณพราหมณ์เหล่า
นั้น ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อไร้ประโยชน์เละทุกข์แก่ชนเหล่านั้นสิ้นกาลนานเช่น
นั้นเหมือนกัน.

[390] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว นายโคบาลชาวมคธผู้มี
ปัญญา นึกฤดูสารทในเดือนท้ายฤดูฝน ตรวจตราดูฝั่งแม่น้ำคงคาข้างนี้แล้ว
เริ่มต้อนฝูงโคให้ข้ามไปฝั่งเหนือแห่งวิเทหรัฐฟากโน้นโดยถูกท่าทีเดียว.
เขาขับต้อนเหล่าโคอสุภ เป็นโคพ่อสูง เป็นโคนำหน้าฝูง ข้ามไปก่อน มัน
ได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคงคา ถึงฝั่งโดยสวัสดี. ต่อนั้นจึงต้อนโคอื่น
อีก ที่ใช้การได้ ที่พอจะฝึกใช้ได้ มันได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคง
คา ถึงฝั่งโดยสวัสดี. ต่อนั้นจึงไปต้อนโคผู้และโคเมียที่รุ่นคนอง มันก็ได้
(ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคงคา ถึงฝั่งโดยสวัสดี. ต่อนั้นไปจึงต้อนลูกโคและ
โคที่ซูบผอม มันก็ได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคงคา ถึงฝั่งโดยสวัสดี.
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ลูกโคอ่อนที่เกิดในวันนั้น ว่ายไปตาม
เสียงร้องของแม่มันก็ได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคงคา ถึงฝั่งโดย
สวัสดี. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เป็นเพราะเขาฉลาด จริงอย่างนั้น นายโค
บาลชาวมคธเป็นคนมีปัญญา นึกถึงฤดูสารทในเดือนท้ายฤดูฝน ตรวจตราดู
ฝั่งแม่น้ำคงคาข้างนี้แล้ว ขับต้อนฝูงโคให้ข้ามไปฝั่งเหนือแห่งวิเทหรัฐฟาก
โน้น โดยถูกท่าทีเดียว ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวก
หนึ่ง ที่ฉลาดต่อโลกนี้ ฉลาดต่อโลกหน้า ฉลาดต่อสิ่งใต้อำนาจมาร ฉลาดต่อ
สิ่งเหนืออำนาจมาร ฉลาดต่อสิ่งที่ใต้อำนาจมฤตยู ฉลาดต่อสิ่งเหนืออำนาจ
มฤตยู ชนเหล่าใดจักสำคัญสิ่งที่ควรฟังควรเชื่อ ต่อสมณพราหมณ์เหล่า
นั้นข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์และสุขแก่ชนเหล่านั้นสิ้นกาลนาน เช่นนั้น
เหมือนกัน.
[391] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาโคอุสุภ เป็นโคพ่อฝูง เป็นโคนำฝูง
ได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคงคา ถึงฝั่งโดยสวัสดีแม้ฉันใด ภิกษุเหล่า
ใด เป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะ อยู่จบพรหมจรรย์เสร็จกิจที่ต้องทำ ปลงภาระ

แล้ว สำเร็จประโยชน์ตน สิ้นสังโยชน์ในภพ หลุดพ้นเพราะรู้ชอบแม้ภิกษุ
เหล่านั้น ตัดตรงกระแสมาร ถึงฝั่งโดยสวัสดี ฉันนั้นและ. ภิกษุทั้งหลายโคที่
ใช้การได้และที่พอจะฝึกใช้ได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคงคา ถึงฝั่งโดย
สวัสดี แม้ฉันใด ภิกษุเหล่าใดซึ่งเกิดผุดขึ้นและปรินิพพานในชั้น (สุทธา
วาส) นั้น ไม่จำต้องวกกลับมาจากโลกนั้น เพราะสิ้นสังโยชน์เบื้องต่ำ 5.
แม้ภิกษุเหล่านั้น จักตัดตรงกระแสมารแล้ว ถึงฝั่งโดยสวัสดี.
ภิกษุทั้งหลาย โคผู้และโคเมียที่รุ่นคนอง ได้(ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่
น้ำคงคา ถึงฝั่งโดยสวัสดี แม้ฉันใด ภิกษุเหล่าใด เป็นพระสกทาคามี เพราะ
สิ้นสังโยชน์ 3 และทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบาง จักมาสู่โลกนี้อีกคราว
เดียวแล้ว จักทำที่สุดทุกข์ แม้ภิกษุเหล่านั้น ก็จักตัดตรงกระแสมารถึงฝั่งโดย
สวัสดี.
ภิกษุทั้งหลาย ลูกโค (และ) โคที่ซูบผอม ได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่
น้ำคงคา ถึงฝั่งโดยสวัสดี แม้ฉันใด ภิกษุเหล่าใดเป็นพระโสดาบัน เพราะสิ้น
สังโยชน์ 3 มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดาเป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ต่อไปข้าง
หน้า แม้ภิกษุเหล่านั้น ก็ได้ตรัสตรงกระแสมาร ถึงฝั่งโดยสวัสดี.
ภิกษุทั้งหลาย ลูกโคอ่อนที่เกิดในวันนั้น ว่ายไปตามเสียงร้องของ
แม่ ได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคา ถึงฝั่งโดยสวัสดี แม้ฉันใด ภิกษุเหล่า
ใด ซึ่งหน่วงธรรมและศรัทธาเป็นหลักแม้ภิกษุเหล่านั้นก็จักตัดตรงกระ
แสมาร ถึงฝั่งโดยสวัสดี ฉันนั้นแหละ. ภิกษุทั้งหลายตัวเราเป็นผู้ฉลาดต่อ
โลกนี้ ฉลาดต่อโลกหน้า ฉลาดต่อสิ่งใต้อำนาจมาร ฉลาดสิ่งเหนืออำนาจ
มาร ฉลาดต่อสิ่งใต้อำนาจมฤตยู ฉลาดต่อสิ่งเหนืออำนาจมฤตยู ชนเหล่าใด
จักสำคัญสิ่งที่ควรฟังควรเชื่อต่อเรานั้น ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์และ
สุขแก่ชนพวกนั้นตลอดกาลนาน ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเวยยากรณพจน์นี้แล้ว ภายหลังจึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์นี้ต่อไปว่า
โลกนี้ โลกหน้า เรารู้อยู่ ประกาศไว้ดี
แล้ว เราผู้เป็นสัมพุทธะ ทราบชัดโลกทั้งปวง
ซึ่งแออัดด้วยมาร และอ้างว้างจากมฤตยู
ด้วยปัญญาอันยิ่ง เปิดประตูอมฤตอันปลอด
โปร่ง เพื่อบรรลุพระนิพพาน กั้นกระแสมาร
ผู้ลามก ขจัด (กิเลส) และกระทำให้หมด
มานะ พวกเธอจงเป็นผู้มากไปด้วยปรา-
โมทย์ ปรารถนาพระนิพพาน ซึ่งเป็นที่เกษมเถิด
ภิกษุทั้งหลาย.


จบจูฬโคปาลสูตร ที่ 4

อรรถกถาจูฬโคปาสสูตร



จูฬโคปาสสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ

บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า อุกฺกเจลายํ คือ ในเมืองมีชื่ออย่างนั้น.
ได้ยินว่า เมื่อเขากำลังสร้างเมืองนั้น ปลาจากกระแสแม่น้ำคงคา ขึ้นบกใน
เวลากลางคืน พวกมนุษย์ชุบผ้าในถาดน้ำมันให้เปียกทำเป็นคบเพลิงจับ
ปลา. เมื่อเมืองนั้นสร้างเสร็จแล้ว พวกเขาเมื่อจะตั้งชื่อเมืองนั้น จึงได้ตั้งชื่อ
เมืองนั้นว่า อุกกเจลา ด้วยคิดว่าในวันสร้างเมืองพวกเราจับปลาได้ด้วยคบ
เพลิงผ้า. บทว่า ภิกฺขู อามนฺเตสิ ความว่า แม่น้ำคงคาทั้งหมด ย่อมปรากฏ
แก่ผู้นั่งในสถานที่ใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุสงฆ์เป็นอันมากห้อม
ล้อม ประทับนั่งในสถานที่เช่นนั้นเป็นหาดทรายฝั่งแม่น้ำคงคา เวลาเย็น
กำลังทอดพระเนตรแม่น้ำมหาคงคาเต็มเปี่ยมกำลังไหล ทรงใคร่ครวญว่ามี
ใคร ๆ หนออาศัยแม่น้ำคงคานี้แล้ว ได้รับความเจริญและความเสื่อมในกาล
ก่อน ได้ทรงเห็นว่าฝูงโคหลายพันอาศัยนายโคบาลโง่คนหนึ่ง ตกที่วนแม่น้ำ
คงคานี้เข้าไปสู่สมุทร ส่วนฝูงโคหลายแสนได้มีความสวัสดี ความเจริญ
ความไม่มีโรค เพราะอาศัยนายโคบาลผู้ฉลาดอีกคนหนึ่ง. ครั้นทรงเห็น
แล้ว ทรงดำริว่า เราจักอาศัยเหตุนี้ แสดงธรรมแก่พวกภิกษุนี้ดังนี้ จึงตรัส
เรียกภิกษุทั้งหลาย.
บทว่า มาคธโก คือชาวมคธรัฐ บทว่า ทุปฺปญฺญชาติโก ได้แก่
มหาชนพวกไม่มีปัญญาเป็นสภาพ. บทว่า อสมเวกฺขิตฺวา ได้แก่ ไม่กำ
หนด คือไม่ใคร่ครวญ. บทว่า ปตาเรสิ เริ่มเพื่อจะให้ข้าม บทว่า อุตฺตรํ